ปัญหาที่ทีมสนใจ
COVID-19 ทำให้หลายๆคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างอยู่ที่บ้าน ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆที่สามารถให้เราทำงานที่บ้านออนไลน์ เรียนออนไลน์ คุยกับเพื่อนออนไลน์ ดูหนังฟังเพลงบนหน้าจอของตัวเองทำให้อัตราการใช้สมาร์ทโฟนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9-10 ชั่วโมงต่อวันคิดเป็นประมาณ 50%ของเวลาที่เราตื่น (Bangkokbiz news, 2563) แต่สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือ COVID-19 เราใช้ชีวิตอยู่หน้าจอมากขึ้น เรา Connect กับคนไกลตัวง่ายขึ้นแต่มันกลับทำให้เรา Disconnect กับคนใกล้ตัวเราที่สุดอย่างครอบครัวของเราอยู่หรือเปล่า? COVID-19 จะทำให้เราเป็นสังคมก้มหน้ามากขึ้นหรือไม่? เชื่อว่ามีหลายสาเหตุที่หลายๆครอบครัวไม่ได้พูดคุยกันหนึ่งในนั้นคือความคิดต่างวัยระหว่างพ่อแม่และลูกโดยเฉพาะเมื่อเริ่มลูกเข้าสู่วัยรุ่น (Generation Gap) ต่างฝ่ายต่างไม่เข้าใจความคิดของกันและกันส่งผลให้เกิดการการสื่อสารอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การที่ลูกพูดในสิ่งที่ตัวเองคิดกลับโดนมองว่าเถียงพ่อแม่หรือเป็นเด็กก้าวร้าว ในขณะที่พ่อแม่เตือนด้วยความหวังดีก็กลัวโดนตีความเป็นการด่าคือการกดดัน ซึ่งสิ่งเหล่านั้นนำไปสู่การไม่สื่อสารกันความไม่เข้าใจกัน ซึ่งปัญหาการไม่สื่อสารกันในครอบครัวและ’ความเงียบ’คือสิ่งที่น่ากลัวที่สุดที่เป็นผลเสียกับความสัมพันธ์ในระหว่างพ่อแม่ลูก
กลุ่มเป้าหมาย
พ่อแม่ที่ทำงานประจำเป็นพนักงานบริษัท และเยาวชนอายุ 12-15 ปี (ม.ต้น ที่ยังมีความเป็นเด็ก และมีความอยากเป็นผู้ใหญ่ บางครั้งไม่รู้วิธีการสื่อสารกับพ่อแม่)
โดยเจาะจงครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล
โอกาสในการแก้ปัญหา
เราเห็นช่องว่างของปัญหาความคิดต่างวัย (Generation Gap) ลึกๆ ทุกคนก็ยังโหยหาปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและเราอยากจะยื่นมือเข้าไปช่วยเพื่อให้ทุกคนสื่อสาร เข้าใจความต่าง และเริ่มกันมีปฏิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น เพราะครอบครัวคือเป็นพื้นทางจิตใจของเด็กทุกคน ตอนนี้ Gap ยิ่งกว้างขึ้นเมื่อเราอยู่ในยุค COVID-19
ช่องว่างของ Generation Gap ที่พวกเราเลือกจะเข้าไปแก้ไขปัญหานั้น เริ่มที่จะกว้างขึ้นเรื่อยๆ จากการเกิดสถานการณ์ COVID-19 เพราะการปรับตัวใหม่ในยุค COVID-19 ที่ทุกๆ คนต้องหันมาใช้และพึ่งพาเทคโนโลยี จนบางครั้งหลงลืมคนใกล้ตัว เริ่มพูดใส่แต่กับโทรศัพท์มือถือมากกว่าคนเป็นๆ ยิ่งเป็นปัจจัยที่กระตุ้นความคิดต่างวัย Gap ที่ตอนแรกอาจจะเล็ก ก็ยิ่งกว้าง กว้างจนเป็นปัญหาตามมาภายหลัง โดยเริ่มจากการที่คนในครอบครัวไม่พูดคุยและไม่พยายามเข้าใจซึ่งกันและกัน ส่งผลต่อสภาพจิตใจของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และเยาวชนในครอบครัวนั้น
ดังนั้นพวกเราจะแก้ไขสถานการณ์ปัญหาที่คนในสังคมกำลังจะ “ปรับตัวใหม่ในยุค COVID-19” พร้อมทั้ง “ดูแลจิตใจของวัยรุ่น” ที่จะต้องเผชิญกับปัญหาและความยากลำบากในสถานการณ์แบบนี้
ไอเดียในการแก้ปัญหา
การ์ดเกม สานสัมพันธ์ กับคนในครอบครัว โดยแบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่และแต่ละในหมวดหมู่แบ่งเป็น 3 ระดับความท้าทาย ได้แก่ หมวด พูด เขียน ลงมือทำ
วิธีการเล่น สามารถนั่งเล่นคนเดียว หรือนั่งล้อมวงเล่นภายในเวลา 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือทำเป็นมิชชั่นในแต่ละวันได้
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ทั้งพ่อแม่และลูกต่างลดกำแพงความคิดของตัวเองลง ยอมรับฟังความคิดเห็นและความแตกต่างในการใช้ชีวิตของกันและกัน การสื่อสาร การแลกเปลี่ยนความคิด ในครอบครัวเป็นเรื่องปกติที่ทำได้กลับมา reconnect ซึ่งกันและกัน เพราะการเริ่มต้นสื่อสารจากจุดเล็กๆหรือเรื่องเล็กๆในครอบครัวจะส่งผลดีต่อไปในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเจอปัญหาจะได้หันหน้าเข้ามาพูดคุยกันในครอบครัวเป็นการลดความตึงเครียดเมื่อเจอกันอุปสรรคภายนอกได้อย่างดี เช่น Covid Second Wave
ทีม: FPP
ทีมของเราเจอกันในที่ทำงาน เริ่มต้นด้วยการที่ฟิวเจอเป็ดก่อน ตอนแรกฟิวเป็นแค่กราฟิก ดีไซเนอร์ ธรรมดาที่ทำงานออกแบบทั่ว ๆ ไปในออฟฟิต แต่ได้เจอกับเป็ดที่ทำงานอยู่ที่เดียวกัน แต่ทำในฝ่ายเครือข่ายเยาวชนและการศึกษา ฟิวเห็นว่างานเป็ดดูน่าสนุกและมีคุณค่ามาก ๆ เลยพยายามไปตีสนิทด้วย
สุดท้ายฟิวกับเป็ดได้ทำงานทีมเดียวกันจากการไปแอบขอหัวหน้างานเป็ดทำงานด้วย (555+) แล้วแพรวก็ตามมาในไม่ช้า แพรวเริ่มจากมาฝึกงานที่ฝ่ายที่เป็ดกับฟิวทำอยู่ เพราะแพรวเป็น Fellow ของ Teach for Thailand จะต้องออกมาฝึกงานกับองค์กรการศึกษาอื่น ๆ ด้วย และนี้คือจุดที่ทำให้พวกเรา 3 คนเจอกัน ได้ลองทำงานด้านการศึกษาและออกแบบหลักสูตรไปด้วยกัน
ด้วยความที่พวกเรา 3 คนน่าจะมีอะไรบ้างอย่างที่คล้ายๆ กัน เช่น เป็นคนรักการเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง ที่สำคัญคือพวกเราเป็น “คนรักงานนั่นเอง!!!” จึงทำให้เรา 3 คนสนิทกันได้ในไม่ช้า ทำงานกะดึกกันทุกวัน บ้างครั้งก็เลยไปเกือบถึงเที่ยงคืนด้วยซ้ำ แต่เราก็ยังมีความสุขกับการทำงานด้านการศึกษาและให้ความรู้น้องๆ เพราะเราเชื่อว่ามันมีประโยชน์และคุณค่าแก่เยาวชนทุกคน
สมาชิก
ศดานันท์ ล้อเพ็ญภพ (เป็ด)
วรินทร จิวระประภัทร์ (แพรว)
ธัญญาเรศ ล้อมรัตนพนา (ฟิว)
เป็ด จะมีความถนัดในเรื่องของการเจรจาต่อรองและติดต่อประสานงาน เป็นคนที่เรียกได้ว่ามี Conncection ในวงการการศึกษาที่เยอะที่สุดในกลุ่มก็ว่าได้ ด้วยความที่เป็นคนช่างพูดช่างเจรจาเลยทำให้ทำความรู้จักกับคนแปลกหน้าได้ง่าย และทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นคนรู้จักได้ในระยะเวลาอันสั้น ถ้าจะส่งใครสักคนหนึ่งไปสัมภาษณ์ User หรือกลุ่มเป้าหมายคนที่เหมาะสมที่สุดน่าจะเป็นเป็ด แถมยังเป็นคนที่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วและทันถ่วงที นอกจากนี้เป็ดมีความสนใจในเรื่องของความจริงทางศาสนา คอยถามหาเหตุผลของมันอยู่เสมอว่าทำไมคนเราต้องคิดและเชื่อและลงมือทำไปแบบนั้นด้วย เป็ดมักตั้งคำถามและถามหาเหตุผลอยู่เสมอ นี้เป็นอีกงานอดิเรกของเป็ด
แพรว นั้นมีทักษะในการสื่อสารที่ดีเยี่ยมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงทักษะการสอนถือว่าเก่งที่สุดในกลุ่ม เพราะแพรวนั้นมีประสบการณ์ในการสอนเด็กมาเยอะมาก นอกจากนี้แพรวเป็นคนใจเย็นทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีในเวลาเกิดเหตุไม่คาดคิด ในเวลาปกติเป็นคนที่มีวิธีการจัดสรรเวลาและเนื้องานดีมาก เรียกได้ว่าเป็น Project Manager ของกลุ่มเลยก็ว่า ตัวของแพรวมีความสนใจในเรื่องของการเมืองและการศึกษาเป็นอย่างมาก เรียกว่าเป็นคนที่ติดตามข่าวสารเรื่องการเมืองอยู่ตลอดเวลาและจะมีเรื่องมาเล่าให้คนในกลุ่มฟัง
ฟิว จะมีทักษะเด่นในเรื่องของการทำเรื่องยาก ๆ หรือตัวหนังสือเยอะ ๆ ให้กลายเป็นภาพที่เข้าใจง่าย เนื่องจากฟิวจบจากคณะออกแบบมาทำให้มีความสามารถในการออกแบบสื่อกราฟิกต่าง ๆ เพื่อสื่อสาร Message ที่เราต้องการไปให้ถึงกลุ่มคนที่เราต้องการจะให้ได้ยินมากที่สุด ซึ่งสิ่งที่ฟิวทำได้จะมีการใช้โปรแกรม Adobe ต่าง ๆ หรือการทำ Visual Note-Taker/Visual Thinking นอกจากนี้เรื่องงานหลังบ้านขอให้บอกฟิว เพราะเป็นคนที่จัดการงานหลังบ้านได้ดี มีความเตรียมพร้อมทุกสถานการณ์ ส่วนเรื่องความสนใจของฟิว คือการวาดรูปและหนังสืบสวนสอบสวน เพราะมันสนุกและได้ใช้ความคิดในการทำ
เป้าหมายของสมาชิก
เป้าหมายของพวกเราทั้ง 3 คนที่การทำให้การศึกษาไทยเป็นสิ่งที่เท่าเทียมกันทั้งประเทศ โดยเราต้องการที่จะช่วยเหลือกลุ่มคนที่ลำบากในการที่จะได้มีการศึกษา ซึ่งเราได้เห็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญแต่คนอื่นอาจจะมองข้ามไปคือ “ผู้ปกครอง” หลาย ๆ คนอาจจะรีบลงไปช่วยเด็กก่อนเพราะมองว่าผู้เรียนเป็นเด็ก แต่ที่จริงแล้วยังมีอีกบุคคลที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการได้เรียนหรือไม่ได้เรียนของเด็กไทยเลยคือ “พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง”
พวกเราตั้งเป้าไว้ว่าจะแก้ไขและช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไรจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเป็น New Normal แล้ว แต่เขาไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนตนเองตอนนี้
การสนับสนุนที่ต้องการ
อาสาสมัคร
ต้องการอาสาสมัครมาช่วยทำการ์ด และช่วยแนะนำในเรื่องคีย์เวิร์ดที่จะพิมพ์ลงไปบนการ์ด อาจจะเป็นนักจิตวิทยาที่เข้าใจในสถานการณ์ด้านอารมณ์และวิธีการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ภายในครอบครัว รวมถึงนักออกแบบเกมที่จะมาช่วยทำให้เกมการ์ดชุดนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยรายละเอียดของอาสาสมัครที่พวกเราต้องการมีดังนี้
- นักจิตวิทยา 1-2 คน : เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ซึ่งถนัดเรื่องการเข้าใจเด็กและเยาวชนเป็นพิเศษ
- นักออกแบบเกม 1 คน : เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการ์ดเกม ซึ่งถนัดในเรื่องของการคิดเนื้อเรื่อง (Storytelling) และวิธีการเล่น (Instruction)
- นักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ 1 คน : เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกิจกรรมให้กับเด็กและเยาวชน มีความสามารถที่จะประยุกต์ทฤษฎีที่ใช้ออกแบบกิจกรรมสำหรับเด็กในห้องเรียนมาให้เป็นการ์ดเกมที่สามารถเล่นได้ที่บ้าน
- นักวาดภาพประกอบ 1 คน : เชี่ยวชาญในเรื่องการนำข้อมูลที่เป็นตัวอักษรมาเล่าเรื่องให้กลายเป็นภาพที่สวยงาม และเข้าใจง่ายสำหรับทุกๆ คนในครอบครัว
อยากจะขอเวลาแต่ละท่านสัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 2 ชั่วโมง เพื่อนัดประชุม พูดคุยและแบ่งงานกันทำ โดยเวลาที่นัดเจอคือช่วงกลางคืนหลัง 3 ทุ่มเป็นต้นไป แต่หากสนใจสามารถพูดคุยและปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานกันได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
เงินบริจาค
ต้องการระดมทุนเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เพื่อนำไปออกแบบและผลิตเกมการ์ดจริงสำหรับครอบครัวประมาณ 5 ชุด ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นครอบครัวที่มีปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและอยู่ในสภาวะตึงเครียด โดยเราตั้งใจที่จะทดสอบเกมการ์ดของเรากับครอบครัวที่มีปัญหาจริงๆ อีกเป้าหมายหนึ่งคือพวกเราต้องการที่จะช่วยเหลือพวกเขาไปด้วยในเวลาเดียวกัน
การสนับสนุน
อาสาสมัคร
เงินบริจาค
การอัปเดตโปรเจกต์ ครั้งที่ 1
อธิบายผ่านการเล่าเรื่องถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในรอบเดือนที่ผ่านมา
ยังอยู่ในช่วงของการวางแผนเพื่อลงพื้นที่ของทีม ว่าเราจะลงไปสัมภาษณ์อะไรและอยากจะได้ Insight ในประเด็นไหนบ้าง จากการคาดเดาสุ่มๆ ของทีมเอง ทีมได้มีโอกาสเข้าไป Tedx Workshop: Theory of Change เลยได้พูดคุยกับทีมงานจนได้รู้ Insight บ้างอย่างของตลาดพรานนกเลยทำให้เปลี่ยนแผนงานที่วางไว้ตั้งแต่เริ่ม
จากข้อมูลที่ได้ ทีมจึงรวบรวมอาสาสมัครเพิ่มเติมเป็นจำนวน 13-16 คน เพื่อเตรียมลงพื้นที่ ซึ่งได้เปิด Line Group ของอาสาสมัครเพื่อการติดต่อ แต่ก่อนจะนัดประชุมอาสาสมัคร ทีมได้วางแผนเอาไว้ 2 แผนการด้วยกันคือ
แผนที่ 1 เราจะลงไปสัมภาษณ์ด้วยบทสัมภาษณ์ที่เราวางไว้ โดยที่เราจะเน้นที่การพูดคุย “ถาม-ตอบ” และใช้คำถามจากบทสัมภาษณ์ที่เราวางไว้ คาดการณ์ว่าต้องลงพื้นที่หลายครั้งเพราะประเด็นเป็นเรื่อง Sensitive กลุ่มเป้าหมายไม่น่าเปิดใจในครั้งแรก
แผนที่ 2 เปลี่ยนจากการสัมภาษณ์เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้เกิดการพูดคุย โดยเราจะใช้ Card Game เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างทีมงานและกลุ่มเป้าหมาย คาดว่าการใช้ Card Game จะช่วยลดช่องว่างระหว่างกัน และทำให้กลุ่มเป้าหมายเปิดใจทีละนิด
ซึ่งเราจะนำ 2 แผนการนี้เสนอในที่ประชุมและถามหาอาสาสมัครที่จะสะดวกลงพื้นที่ไปกับเรา พร้อมตั้งเป้าหมายและแบ่งหน้าที่กันในทีมอาสาสมัครที่สนใจในตัวโครงการ
ผลลัพธ์จากกิจกรรม
ทีมได้บทสัมภาษณ์และ Revise ไปบางส่วนจากการได้คุยกับทีมงาน รวมถึงได้ลองศึกษาวิธีการทำ Card Game เพื่อวางแนวทางในการออกแบบ Card Game และกิจกรรม และได้ 2 แผนการมาเพื่อคุยกับทีมอาสาสมัคร
อุปสรรคและความท้าทายที่พบระหว่างทำกิจกรรม
อุปสรรคและความท้าทายของพวกเราคือ “เวลา” เนื่องจากมีงานประจำและงานในส่วนการทำโครงการนี้ เราจะต้อง Manage เวลาให้กับทั้งสองเรื่อง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเรายังจัดสรรเวลาสำหรับ “การลงมือทำ” ให้กับโครงการนี้น้อยเกินไป จึงทำได้แค่ “วางแผนการทำงานและพูดคุย” เท่านั้นเอง
แนวทางการดำเนินโครงการต่อในเดือนถัดไป
พวกเราพยายามกำหนดเป้าหมายให้มีระยะเวลาที่สั้นขึ้น โดยที่กำหนดให้งานต้องเสร็จในระยะเวลาอันใกล้ และงานที่อยากได้ต้องมีขนาดเล็กที่ง่ายต่อการเห็นภาพว่าจะทำให้เสร็จได้อย่างไร
ข้อมูลอื่นๆ ที่อยากอัปเดตเพิ่ม
ทีมได้ตั้งเป้าหมายระยะสั้นเอาไว้ว่า “เราจะลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในตลาดพรานนกให้ได้ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายน 2563”
>> สรุปกระบวนการการทำงาน
18/09/63 เป็ด ฟิว จะลงพื้นที่สัมภาษณ์ (ตั้งวันไว้ก่อน)
xx/09/63 นัดแนะอาสาสมัคร (ถ้ามี)
xx/09/63 ติดต่อผู้จัดการตลาดเพื่อพูดคุยและขออนุญาต พร้อมนัดวัน (อาจจะเป็นไปได้ที่เขาจะไม่สะดวกในวันที่เราสะดวก)
xx/09/63 ประสานกับทีมงานเพื่อขอ Contact ผู้จัดการตลาดและเจ้าของตลาด (ผู้พิพากษาศาลครอบครัว)
xx/09/63 Review & Revise บทสัมภาษณ์และเตรียมการ (คน+ของ)
08-11/09/63 ประชุมอาสาสมัคร เพื่อถามความคิดเห็นและขอจำนวนคนที่สามารถลงพื้นที่ไปด้วยกัน (หรือจริงๆ มีแค่อาจจะมีแค่เป็ดกับฟิวก่อน)
5-7/09/63 ทีมวางแผนแล้ว List ประเด็นที่อยากจะให้อาสาสมัครช่วย หรืออื่นๆ ที่สำคัญลงใน Checklist ของทีม (ประชุมออนไลน์ 1 ครั้งในช่วงนี้)