ปัญหาที่ทีมสนใจ
:เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด19ที่ผ่านมาทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล 1 ในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือธุรกิจร้านอาหาร เพราะในช่วงโควิดไม่มีลูกค้ามาซื้อของที่หน้าร้าน ทำให้ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวไปขายออนไลน์มากขึ้น ในส่วนที่ปรับตัวได้ก็สามารถอยู่รอดในสถานการณ์นี้ได้แต่ก็มีบางส่วนที่ปรับตัวไม่ได้ทำให้ต้องปิดกิจการลง แต่รายได้ของร้านก็ลดลงไปมากเนื่องจากยอดขายและค่า packaging
ในส่วนของเปอร์เซ็นของขยะเดลิเวอรี่เนื่องจากการเติบโตของเดลิเวอรี่นั้นมากถึง 300% โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพ โดยขยะเดลิเวอรี่ส่วนมากเป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ มากถึง 80% และได้สร้างผลกระทบไปในหลายส่วน
อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของต้นทุนของทางร้านอาหารเพราะการส่งเดลิเวอรี่ต้นทุนของร้านนั้นก็ถือว่าเพิ่มขึ้น โดยจะอยู่ที่ประมาณ 1-8 % ของราคาอาหาร(ค่าแพกเกจ) ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่มาก
กลุ่มเป้าหมาย
ย่านที่ทำงานบริษัท เช่น สีลม สุขุมวิท ฯลฯ
โอกาสในการแก้ปัญหา
จะเห็นได้ว่าร้านนั้นแบกรับต้นทุนของค่าแพกเกจจิ้งในระดับหนึ่ง ซึ่งมีร้าน(ส่วนน้อย)ที่ได้ลองใช้การให้โปรโมชั่นในการเอากล่องมาจากบ้าน แต่ก็นับเป็นสัดส่วนแค่ประมาณ 5-10% เท่านั้น(ในกรณีของการที่มีโปรโมชั่น) ส่วนทางเลือกของการใช้แพกเกจที่สามารถย่อยสลายได้จะมีราคาแพงกว่ากล่องพลาสติกถึง 3-4 เท่า ซึ่งไม่เป็นที่นิยมใช้ซักเท่าไหร่ยิ่งเป็นร้านอาหารที่ไม่ใช่ร้านอาหารราคาแพงยิ่งไม่มีการใช้แพกเกจแนวนี้ เนื่องด้วยเหตุผลด้านราคา
แล้วถ้าลองเอาแพกเกจมาใช้ซำ้หรือในกรณีที่ให้ลูกค้าในกล่องมาเอง ความสะอาดเป็นส่วนสำคัญเพราะว่าคนจะสงสัยว่าถ้าเอาแพกเกจที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่มันจะสะอาดรึเปล่า ซึ่งในส่วนนี้เป็นสิ่งที่ทั้งผู้บริโภคและทางร้านอาหารเห็นเหมือนกัน อีกส่วนหนึ่งคือความยุ่งยากในการนำกลับมาใช้ใหม่ การล้าง การเก็บ พื้นที่ที่ใช้ในการพกไปไหนมาไหน และบางร้านอาจจะไม่ชินกับการที่ต้องมาใส่อาหารในกล่องที่ไม่ใช่ของทางร้าน
สุดท้ายคือความสวยงามของตัวอาหารและแบรนดิ้งที่ควรจะมีในอาหารที่มีราคาพอสมควร
ไอเดียในการแก้ปัญหา
ทำแพกเกจที่สามารถแก้ปัญหาของผู้ใช้งาน เพื่อให้มีการใช้งานกล่องเพิ่มขึ้นเพื่อลดการใช้งานกล่องพลาสติกซึ่งสร้างมลภาวะและยังเป็นต้นทุนสำคัญของร้านอาหาร โดยสิ่งที่เราจะทำคือสร้างกล่องที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานและผลักดันให้เกิดการใช้งานจริงในร้านค้าที่ร่วมรายการ โดยเนื่องจากร้านจะได้ลดต้นทุนในส่วนของ packaging หรือร้านที่เน้นความ green เป็น concept ของร้าน ก็ให้ช่วยผลักดันโดยให้ promotion ส่วนหนึ่งของต้นทุนค่า pacakging เพื่อเป็นผลตอบแแทนแก่ผู้ใช้งาน
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
มียอดการใช้งานของกล่อง 30 percent จากสัดส่วนของเดลิเวอรี่ในย่านที่ทำงานบริษัท ในร้านที่มีลูกค้าประจำเป็นลูกค้าโดยเข้าใช้บริการประมาณ 2-5 วันต่อสัปดาห์
ทีม: CON Innovation
ตอน ม 4 ไมโลและซีที มีความสนใจในการทำนวัตกรรมจึงได้เริ่มทำโครงการตะเพียนซีลเลอร์ขึ้นมา ซึ่งมีช่วงแรก(ม4) งานยังไม่ค่อยจะเวิรคเท่าไหร่ หลังจากนั้นไมโลไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ แต่งานซีลเลอร์ก็ยังถูกทำต่อไป(ช่วง ม 5)และจากเวลาและความช่วยเหลือของหลายๆคนงานก็สำเร็จลุล่วงในระดับหนึ่ง(ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 ของวันนักประดิษฐ์) ในช่วงเวลาม 5นี้ เก้นก็ได้เข้าร่วมโครงการ jstp โดยส่งโครงการเกี่ยวกับการผลิตนำ้มันจากกากกาแฟ หลังจากนั้น พอ ม 6 ก็เป็นช่วงที่เราสามคนได้มาร่วมกันทำงานกันอย่างจริงจัง และได้เข้าร่วมการแข่งขันในหลายรายการทั้ง YSC และอื่นๆ
สมาชิก
ไมโล
ซีที
เก้น
ไมโล
ทักษะ ทักษะการเอาหลายๆอย่างมาปรับรวมกัน กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ออกแบบ เปียโน
ความสนใจ การออกแบบ ธุรกิจ เทคโนโลยี สถาปัตยกรรม ฟุตบอล
วรเดช
ทักษะ ทักษะการช่าง อุปกรณ์เครื่องพิมพ์สามมิติ ไอเดียใหม่ๆ การเขียนโปรแกรม ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์วัสดุ
ความสนใจ ธุรกิจ สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม อนิเมะ
ธีทัต
ทักษะ เคมี การเขียนภาพสามมิติ ไอเดีย กีต้าร์ อุปกรณ์
ความสนใจ ธุรกิจ การเกษตร เกมส์
เป้าหมายของสมาชิก
เป้าหมายจะคล้ายๆกันคืออยากสร้างธุรกิจหรือนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือสังคมให้ดีขึ้น
แต่อาจจะมีเป้าหมายพิเศษของแต่ละคนเพิ่มมา
การสนับสนุนที่ต้องการ
อาสาสมัคร
นักออกแบบ
ผู้เชี่่ยวชาญด้านการผลิต
ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุ
นักการตลาด
ตัวแทนจากธุรกิจร้านอาหารที่ต้องการมีส่วนร่วม
เงินบริจาค
5000-10000 บาท
เพื่อใช้ในการทำ prototype และพัฒนาเพื่อการนำไปใช้จริง
การสนับสนุน
เงินบริจาค
การอัปเดตโปรเจกต์ ครั้งที่ 1
อธิบายผ่านการเล่าเรื่องถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในรอบเดือนที่ผ่านมา
เราได้ทำการสำรวจในพื้นที่จริงพบว่าจะมีอาหารส่วนที่เป็นของกินเล่นหรือขนมจะมีการใช้งานทั้งกล่องถุงพลาสติก ถุงกระดาษ และกล่องโฟมโดยส่วนของกล่องโฟมสำหรับอาหารที่ร้อนมักจะมีการใช้แผ่นพลาสติกรองเพื่อป้องกันความร้อน ส่วนถุงกระดาษก็มักจะใช้เพื่อใส่ขนมและมีการใส่ถุงพลาสติกซ้อนอีกทีเพื่อป้องกันความร้อนและเพื่อความสะดวกในการถือไปมา สองสำหรับอาหารมักจะใช้พลาสติก50percent กระดาษเคลือบ20percent กระดาษ20percent โฟม 10percent โดยทุกวิธีก็ต้องมีถุงพลาสติกกับที่ใส่นำ้จิ้ม ไม่ว่าจะเป็นซองหรือที่ใส่รูปแบบอื่น และอาหารที่ใช้กระดาษแบบไม่เคลือบมักจะเป็นอาหารที่ไม่มันมาก ส่วนถ้าเป็นอาหารที่เป็นนำ้จะใช้เป็นกล่องพลาสติกหรือไม่ก็ถุงในอัตราส่วนที่เกือบจะเท่ากันคือ 50percent 50percent
ผลลัพธ์จากกิจกรรม
จะเห็นได้ว่ามีโอกาศในการพัฒนาแพกเกจให้เหมาะสมกับการใช้งานบางรูปแบบเช่น ถุงขนมแบบมีที่จับ กล่องที่ใช้แทน กล่องกระดาษแบบเคลือบ กล่องกระดาษ หรือใช้ทดแทนกล่องพลาสติก(ไม่แน่ใจในกรณีนี้)
อุปสรรคและความท้าทายที่พบระหว่างทำกิจกรรม
ต้องสำรวจและสอบถามเป็นจำนวนมาก ความลำบากในการสอบถามที่อาจจะทำไม่ได้ 100percent รวมถึงต้องชิมอาหารหลายร้าน
แนวทางการดำเนินโครงการต่อในเดือนถัดไป
วิจัยและพัฒนาสูตรด้วยข้อมูลที่ได้มา