ปัญหาที่ทีมสนใจ
จากสถานการณ์เเละการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเรา ซึ่งพวกเราได้เดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆภายในชุมชนของตนเอง เช่น สนามกีฬา ตลาดสดขายสินค้า ร้านอาหาร ฯลฯ กลับพบว่า สถานที่เหล่านี้มีมาตราการในการป้องกันการ
เเพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ได้ดีอยู่เเล้วตามมาตราการของภาครัฐ เเต่พวกเรามองข้ามระหว่างทางการมายัง
สถานที่ต่างๆนี้ไป ก็คือรถสาธารนะ รถสาธารนะในที่นี้คือ “รถเเดง” ที่เป็นรถคมนาคมสำคัญของคนเชียงใหม่เเละจังหวัดโดยรอบ ซึ่งปัญหาที่เราพบคือ มีการสัมผัสเเละการพูดคุยกันในระหว่างการใช้บริการ ที่อาจเป็นช่องทางในการเเพร่ระบาดของไวรัสได้ เเละหากมีการเเพร่ระบาดเกิดขึ้นเเล้ว การเเพร่ระบาดจะกระจายได้รวดเร็วอย่างมาก ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพขับรถเเดงเเละผู้ใช้บริการมีความเสี่ยงอย่างมากต่อการติดเชื่อ โดยผลกระทบที่อาจตามมา
ก็คือความมั่นใจของผู้ใช้บริการจนไปถึงสุขอนามัยของทั้งผู้ให้เเละผู้รับบริการ.
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มคนที่อยู่ในสถานะการณ์ปัญหานี้ก็คือ ผู้ให้บริการเเละผู้ใช้บริการระบบสาธารณะ “รถเเดง”
ซึ่งเป็นรถสาธารณะ ที่ให้บริการอยู่ในพื้นที่ในเเต่ละชุมชนของคนในจังหวัดเชียงใหม่ เเละพวกเรามีเเผนที่จะพัฒนา
โครงงานให้สามารถใช้งานได้กับ รถสาธารณะอื่น เช่น รถเเท็กซี่ รวมถึงในพื้นที่อื่น เช่น กรุงเทพมหานคร อีกด้วย
โอกาสในการแก้ปัญหา
จากสถาณการณ์ปัญหาในข้างต้น ช่องว่างที่พวกเราเล็งเห็นก็คือ“สื่อกลาง” หากเรามีสื่อกลางเราก็จะสามารถลดความเสี่ยงของปัญหานี้ได้ ซึ่งสื่อกลางในความคิดของพวกเราก็คือ“อุปกรณ์”ที่จะเป็นตัวกลางในการลดช่องว่างของปัญหา
ไอเดียในการแก้ปัญหา
จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ไอเดียในการเเก้ไขปัญหาของพวกเราคือ “ลดการสัมผัส เพิ่มความมั่นใจ”
กล่าวคือ พวกเราตั้งใจที่จะมุ่งเน้นให้เรื่องของสุขอนามัยมาเป็นอันดับเเรก โดยที่ผลที่ตามมาก็คือความมั่นใจของผู้ที่ใช้เเละผู้ที่ติดตั้ง โดยสิ่งที่พวกเราต้องการจะทำก็คือ “ชุดอุปกรณ์” ที่จะเป็นตัวกลางในการเพิ่มมารตราการของ
social distancing เป็นหัวใจหลัก.
ในส่วนของเเผนภาพในการจัดทำโครงงานนี้ ทีม จำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลของปัญหา เเละลงพื้นที่ไปสัมผัส
กับหน้างาน เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาเเละรายละเอียดต่างๆ โดยต้องคำนึงถึงงบประมาณกับปัจจัยอื่นๆ จากนั้น
ถึงจะเริ่มลงมือทำโครงงานเเละทดสอบเเก้ไขก่อนนำไปใช้จริง ต่อจากนั้นจึงจะสามารถนำไปทดลองใช้จริงเพื่อนำไปสรุปเเก้ไขจุดที่อาจบกพร่อง ในส่วนสุดท้ายเป็นส่วนที่พวกเราต้องมาสรุปโครงงานเพื่อนำไปเป็นผลประเมินเเละ
เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดโครงงานนี้ต่อไป
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
หากปัญหาที่พวกเราที่เป็นเยาวชนตั้งใจที่จะเเก้ไขนี้สำเร็จ เเน่นอนว่าปัญหาในกลุ่มเป้าหมายจะถูกเเก้ไข
ทุกๆคนจะกลับมา มีความมั่นใจในการใช้บริการรถสาธารณะ เเละที่สำคัญคือการระบาดของไวรัส Covid-19 จะระบาดได้ยากขึ้น เเต่ส่วนที่สำคัญในมุมของพวกเราก็คือความภูมิใจ ที่พวกเราที่เป็นเพียงเยาวชนตัวเล็กๆ ก็สามารถช่วยเหลือปัญหาสังคมใหญ่ๆ ได้เช่นกัน โดยที่โครงงานนี้ยังสามารถต่อยอดในอนาคตได้อีก
ทีม: baby hands
พวกเราเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีเเละสหวิทยาการ ซึ่งการมารวมตัวกันในครั้งนี้เกิดจากที่พวกเรา
มีความสนใจ ที่จะนำสิ่งที่พวกเราได้เรียนรู้เเละจากประสบการณ์ในการศึกษา ในด้านของทางวิศวกรรมศาสตร์ทั้ง 3 หลักสูตรนำมาบูรณาการณ์การกัน รวมถึงพวกเราได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่อยู่ในชุมชนของเเต่ละพื้นที่ที่เเต่ละคนอาศัยอยู่ ซึ่งล้วนเเต่ได้รับผลกระทบจากสภาวะ Covid-19 ทั้งสิ้น พวกเราในฐานะนักศึกษาในหลักสูตรเตรียวิศวกรรมศาสตร์
ที่อยากที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆภายใต้โจทย์ New normal จึงเป็นที่มาของการตั้งทีมกันในครั้งนี้.
สมาชิก
กรีน
ฟิวส์
เจต
ฟีฟ่า
อั้ม
คูณ
ต้นนํ้า
ฟลุ๊ค
สมาชิกคนเเรก///
นาย ธีธัช มานิตย์ (กรีน) : มีหน้าที่คือ inspiration สมาชิกคนอื่นภายในทีม เป็นผู้ที่คอยหาข้อมูลเเละนำเสนอข้อมูลเเก่สมาชิกคนอื่น เป็นผู้จัดทำเอกสารต่างๆ เเละดูเเลเกี่ยวกับการเเบ่งหน้าที่ในการทำงานของสมาชิก เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานร่วมกัน
มี “ทักษะ” คือ มีความเป็นผู้นำ เเละมีการวางเเผนในการทำงานอยู่ตลอดเวลา มีความพยายามในการทำงาน เข้าใจเเละเข้ากับผู้อื่นรวมถึงผู้ร่วมงานได้ง่าย รวมถึงมีความรู้ทางด้านการต่อวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น มีทักษะในการพูดที่ดี
มี “ความสนใจ” ทางด้านของนวัตกรรมใหม่ๆ เเละมีความสนใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านของภาคเหนือ รักน้องเเมว อยากไปท่องเที่ยวรอบโลก ชอบออกกำลังกาย ชอบเล่นดนตรีพื้นเมือง เช่น ฉาบ กลองสบัดชัย เป็นต้น
สมาชิกคนที่สอง///
นาย เจตกนกน์ บัวทอง (เจต) : มีหน้าที่ Creative เป็นผู้ที่คอยตั้งคำถามเเละคอยคิดวิธีการในการเเก้ปัญหานั้นๆ เป็นที่ปรึกษาให้กับสมาชิกคนอื่นๆในกลุ่ม คอยจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างหลักๆของโครงงานว่าจะไปในทิศทางใด
มี “ทักษะ” คือ หากสนใจในเรื่องใดเเล้วนั้น จะจริงจังในการหาข้อมูลในเรื่องนั้นมากๆ มีความชำนาญในด้านของงานฝีมือ ประเภทงานเครื่องกล
มี “ความสนใจ” ในเรื่องคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ เรื่องงานเครื่องกลต่างๆ ชอบถ่ายรูปธรรมชาติ
สมาชิกคนที่สาม///
นาย ถิรภัทร อนุบุตร (ฟิวส์) : มีหน้าที่ supporter คอยโต้เเย้ง เเละสนับสนุนเเนวคิดของสมาชิกคนอื่นๆ
ให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงงานที่ตั้งไว้ รวมถึงจัดการเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณของโครงงาน
เเละวางเเผนในการพัฒนาโครงงานล่วงหน้าอีกด้วย
มี “ทักษะ” คือ สามารถใช้งานโปรเเกรมในการนำเสนอต่างๆได้ดี มีความชำนาญในการการตัดต่อวิดีโอ
สามารถเข้าหากับผู้อื่นได้ง่าย คอยรับฟังปัญหาต่างๆของผู้อื่น จึงมักเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ
มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือชั่ง
มี “ความสนใจ” ทางด้านการใช้โปรเเกรมเกี่ยวกับสื่อต่างๆ มีความสนใจในการทำสื่อออนไลน์ เช่น
การทำวิดิโอนำเสนอกิจกรรมต่างๆภายในวิทยาลัย เป็นต้น ชอบถ่ายรูป ชอบทำกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น
การคิดค่านํ้าค่าไฟของหอพักอย่างสมัครใจ เป็นต้น
เเละมีความสนใจในงานก่อสร้างเป็นพิเศษ รวมถึงชอบทำอาหารอยู่เป็นประจำ
เป้าหมายของสมาชิก
เป้าหมายของสมาชิกคนเเรก///
นาย ธีธัช มานิตย์ (กรีน) : ต้องการที่จะใช้ความรู้ความสามารถเเละประสบการณ์ในการทำงาน ออกมาทำประโยชน์ให้กับสังคมชมชน เเละผู้อื่นที่ต้องการความช่วยหลือ เเละต้องการให้ผู้อื่นรู้ว่าเยาวชนอย่างพวกเราก็สามารถที่จะช่วยเหลือสังคมได้ พวกเราจึงมองถึงปัญหารอบตัว เเละนำมาประยุกต์ในการตั้งปัญหาของโครงงานนี้ขึ้นมา
เป้าหมายของสมาชิกคนที่สอง///
นาย เจตกนกน์ บัวทอง (เจต) : ต้องการมาหาประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อได้เห็นโครงการของ StartYoung ก็ลองนึกถึงปัญหาที่ตนเองได้รับผลกระทบ จึงคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดที่ตนเองเพียงคนเดียว เลยอยากที่จะมีส่วนร่วมในการเเก้ปัญหาตรงนี้ด้วย
เป้าหมายของสมาชิกคนที่สาม///
นาย ถิรภัทร อนุบุตร (ฟิวส์) : โดยส่วนตัวคิดว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน ค่อนข้างมีความตึงเครียด จึงมีความคิดที่อยากจะช่วยผ่อนคลาย เเละเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้คนรอบตัว ในเรื่องของสุขภาพเเละสุขอนามัยต่างๆ จึงเป็นที่มาของโครงงานนี้
การสนับสนุนที่ต้องการ
อาสาสมัคร
ต้องการอาสาสมัครในกลุ่มของผู้ให้บริการขับรถสาธารณะ (รถเเดง) เพื่อนำมาทดสอบการติดตั้งอุปกรณ์
เเละทดลองการใช้งาน ในระหว่างการประดิษฐ์ชิ้นงาน
เงินบริจาค
ทางทีมของพวกเราต้องการเงินทุนเบื้องต้นในการสร้างชิ้นงานต้นเเบบ เเละอีกทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการติดตั้ง
จำนวนเงิน 3,000 บาท ซึ่งงบประมาณข้างต้นจะมีการวางเเผนการใช้จ่ายอย่างโปร่งใสเเละมีประสิทธิภาพมากที่สุด
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงงานอย่างเเน่นอนครับ
การสนับสนุน
อาสาสมัคร
เงินบริจาค
การอัปเดตโปรเจกต์ ครั้งที่ 1
อธิบายผ่านการเล่าเรื่องถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในรอบเดือนที่ผ่านมา
การเริ่มต้นในการทำงานนั้นต้องเรียกว่าไม่ง่ายนัก เพราะการทำงานมีการล่าช้าจากกำหนดการที่ได้มีการวางเเผนไว้ เป็นอย่างมาก ทำให้เวลา เเละผลลัพธ์ที่ออกมายังไม่น่าพึ่งพอใจเท่าไรนัก ซึ่งสวนทางกันเงินทุน ที่ถูกใช้ออกไป การทำงานยังไม่มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ เพราะสมาชิกทุกคนจำเป็นจะต้องจัดสรรเวลาระหว่างการเรียน เเละการทำโปรเจคต์ รวมถึงปัจจัยต่างๆ
ก็มีผลเช่นเดียวกัน ในเรื่องของความคืบหน้าของโครงการ เนื่องจากการทำงานที่ผิดจากการวางเเผนไว้ ทำให้โครงการยังไม่คืบหน้ามากนักทำให้กำหนดการในอนาคต ต้องย่นลงมาให้ทันต่อกำหนดการของเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามวัตถุประสงค์
ผลลัพธ์จากกิจกรรม
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้พวกเราเล็งเห็นถึงปัญหาของกระบวนการทำงาน ที่อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราวางเเผนเอาไว้เสมอไป ซึ่งขึ้นอยู่กันหน้างานจริงๆของการทำงาน การเเก้ปัญหา
เฉพาะหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถปรับเปลี่ยน หรือยืนหยุ่นการวางเเผนให้เผื่อการทำงานไม่ลุล่วงตามที่คาดการณ์ไว้
อุปสรรคและความท้าทายที่พบระหว่างทำกิจกรรม
อุปสรรคของเดือนนี้คือ การวางเเผนที่กระชับจนเกินไปทำให้เมื่อทำงานไม่ได้ตามที่วางเเผนเอาไว้ จนทำให้ตารางการทำงานในระยะยาวได้รับผลกระทบตามไปด้วย เเละ
การใช้ชีวิตประจำวันที่มีอย่างหลากหลายปัจจัย เช่น การเรียน ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการทำงานการจัดสรรเวลาของสมาชิกเเต่ละคน ที่มีมากน้อยต่างกัน
แนวทางการดำเนินโครงการต่อในเดือนถัดไป
สำหรับในเดือนต่อไปที่กำลังจะมาถึงนี้ ทีมของพวกเรามีเเผนที่จะเริ่มทำชิ้นงานหลักของโครงการ เเละพัฒนาคลิปวิดีโอ Preview ให้ออกมาอย่างสมบูรณ์มากขึ้น